สถิติ
เปิดเมื่อ10/09/2013
อัพเดท9/10/2013
ผู้เข้าชม327005
แสดงหน้า385194
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   


ประเพณีตักบาตร๔ภาค

อ่าน 575 | ตอบ 1

 ในวันออกพรรษาประเพณีที่เกี่ยวข้องปฏิบัติสืบสานต่อเนื่องกันมาคือ 
การตักบาตรเทโว ซึ่งจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หรือหลังจากออกพรรษา
ไปแล้วหนึ่งวัน 
         ประเพณีการตักบาตรเทโวในสมัย พุทธกาลตามที่มีกล่าวขานถึงนั้นเมื่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและ เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษา
อยู่ 
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 1พรรษาและเมื่อออกพรรษาพระองค์ได้เสด็จกลับ
ยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร และการที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์เรียกตามศัพท์ภาษา บาลีว่า 'เทโวโรหนะ'


         ครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธา เลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่าง
พร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณี
ตักบาตรเทโวสืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน ส่วนสิ่งที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่าง

กันมีทั้งข้าวสารอาหารแห้ง อาหารคาวหวาน อีกทั้งบางชุมชนพื้นที่ยังนิยมทำ 
ข้าวต้มลูกโยน ตักบาตร เทโว ดังเช่นที่เขาพระงาม ตำบลหนึ่งในจังหวัด 
ลพบุรีชาวชุมชนที่นี่ร่วมกันสืบสานประเพณีการตักบาตรเทโวฯต่อเนื่อง
มายาวนาน


        

         'ข้าวต้มลูกโยน' หรือ 'ข้าวต้มหาง'

          ลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่มีขนาดเล็กกว่าอีกทั้งในรูปแบบการห่อมีเอกลักษณ์
โดดเด่นโดยจะไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตรเสียงหนึ่งจากชุมชนบ้านบ่อ
แก้วตำบลเขาพระงามถ่ายทอดเล่าถึงการทำข้าวต้มลูกโยนว่า ข้าวต้มลูกโยน หรือ 
ข้าวต้มหาง ทำมาจากข้าวเหนียว ซึ่งจะนำมาผัดกับกะทิคล้ายกับการทำข้าวต้ม มัด
แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ข้าวต้มลูกโยนที่นี่จะใส่กล้วยถั่วดำแล้วนำมาห่อซึ่งรูปแบบการ
ห่อจะนำใบเตยหรือใช้ใบมะพร้าว ฯลฯทำเป็นกรวยม้วนพันไปจนหุ้มข้าวเหนียวโดยทิ้ง
ชายไว้จากนั้นจะมัดด้วยตอกก่อนนำไปนึ่งให้สุกอีกครั้ง “การทำข้าวต้มลูกโยน หรือ 
ข้าวต้มหาง'จะนิยมทำขึ้นในวันออกพรรษาประเพณีนี้ชาวเขาพระงามได้ปฏิบัติสืบสาน
มาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งเป็นประเพณีเก่าแก่ของที่นี่ซึ่งทุกบ้านจะทำข้าวต้มลูกโยนเพื่อ
นำไปทำบุญตักบาตรเทโวฯ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าตามตำนาน


            ข้าวต้มลูกโยนในวิธีการทำอาจคล้ายคลึงกันใช้ใบไม้ได้หลายชนิดในการห่อ
อย่างที่นี่ใช้ใบเตยซึ่งเมื่อนำไปนึ่งก็จะมีกลิ่นหอมอีกทั้งการทำข้าวต้มลูกโยนยังถ่าย
ทอดความสามัคคี  ความร่วมมือร่วมใจในการสืบรักษาประเพณีของชุมชน”

ประวัติความเป็นมา

                ความเป็นมาของการตักบาตรนั้น มีแจ้งในพุทธตำนานว่านายมาลาการ
ผู้ทำหน้าที่ ดอกมะลิสดไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งเมืองราชคฤห์เป็น
ประจำทุกวัน มาวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการออกไปเก็บดอกมะลิอยู่ในสวน องค์
สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จออกบิณฑบาต
ผ่านมา นายมาลาการเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึง
นำดอกมะลิ ๘ กำมือ ไปถวายแด่พระพุทธองค์ พระเจ้าพิมพิสารราชาทรงทราบ
ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาตรมาถึงใกล้ๆพระราชวังจนนายมาลาการ
ได้พบปะและถวายดอกมะลิบูชา พระราชาจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคม 
ต่อพระศาสดา แล้วเสด็จตามพระศาสดาไป ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา พระเจ้า
พิมพิสารเลยบำเหน็จรางวัลความดีความชอบและพระราชทานสิ่งของทั้งปวงให้
กับนายมาลาการนับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดทั้ง
ปวงด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แทนการตักบาตรจากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็น 
ประเพณี 'ตักบาตรดอกไม้' เป็นประจำทุกปี ตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้


กำหนดงาน

ประเพณีตักบาตรดอกไม้กระทำในวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี


พิธี

               ชาวอำเภอพระพุทธบาท จ. สระบุรี มีประเพณีตักบาตรดอกไม้มาตั้งแต่
ครั้งโบราณ โดยตอนเช้าคนแก่คนเฒ่าตลอดจนหนุ่มสาวพากันไปวัดเพื่อทำบุญ
ตักบาตรข้าวสุกแด่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดพระพุทธบาทราชวรวิหารเสร็จจากการทำบุญ
ตักบาตรแล้วบรรดาหนุ่มสาวพากันออกจากบ้านขึ้นเขาไปเก็บดอกไม้ที่จะบานเฉพาะ
ช่วงเข้าพรรษาจนได้ชื่อเรียกขานว่า'ดอกเข้าพรรษา'เพื่อเตรียมไว้สำหรับตักบาตร
ดอกไม้ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน 
                ดอกเข้าพรรษานี้ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์อยู่ในสกุลกลอบบา (Globba) 
มีลักษณะคล้ายกับต้นกระชายหรือขมิ้น สูง ๑ คืบเศษๆ มักขึ้นตามท้องที่ป่าเขาที่มี
ความชุ่มชื้นค่อนข้างสูง ลำต้นขึ้นเป็นกอจากหัวหรือเหง้าใต้ดิน ดอกมีขนาดเล็กออก
เป็นช่อส่วนยอดของลำต้นมีหลายสี เช่น ขาวเหลืองเหลืองแซมม่วงและบางต้นก็มี 
สีน้ำเงินม่วงมีดอกรองรับในช่อดอกดูเป็นช่อใหญ่สวยงาม โดยเฉพาะชนิดดอกเหลือง
จะมีกลีบรองสีม่วงสะดุดตามากซึ่งจะหายากมากกว่าสีอื่นชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า
ดอกยูงทองหรือดอกหงส์ทองเมื่อเก็บดอกไม้มาแล้วก็นำมามัดรวมกับธูปเทียนชาวบ้าน
จะมาตั้งแถวรออยู่ริมถนนทั้ง๒ ข้างเริ่มตั้งแต่วงเวียนถนนสายคู่ไปจนถึงประตูพระมณฑป
พระพุทธบาทเมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคลพระภิกษุสงฆ์จะออกบิณฑบาต โดยมีขบวนแห่
กลองยาวพร้อมด้วยนางรำ รำหน้ากลองยาวอย่างครึกครื้น ถัดจากขบวนกลองยาว
เป็นพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนรถแห่ตามด้วยขบวนพระสงฆ์เดินมาเพื่อบิณฑบาต
ดอกไม้ ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงประตูพระมณฑปพระพุทธบาท

 


                 ต่อจากนั้นพระภิกษุสงฆ์ก็จะนำเอาดอกไม้เข้าไปในมณฑปพระพุทธบาทเพื่อ
เป็นเครื่องสักการะวันทา'รอยพระพุทธบาท' จากนั้นนำเอาดอกไม้มาวันทาพระเจดีย์ 
'จุฬามณี' เจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก สุดท้าย
จึงนำไปสักการะพระเจดีย์พระมหาธาตุองค์ใหญ่ซึ่งชาวพุทธถือกันว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุ(กระดูกซี่โครงของพระพุทธเจ้า)จากนั้นพระภิกษุสงฆ์และสามเณร
ทั้งหมดก็จะเดินตรงไปเข้าอุโบสถสวดอธิษฐานเข้าพรรษาเพื่อเปล่งวาจาว่าจะอยู่ใน
อาณาเขตที่จำกัดในระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษา                       
                ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรจะเข้าอุโบสถประชาชนนำน้ำสะอาดล้าง
เท้าแด่พระภิกษุสงฆ์บริเวณบันไดด้วยความเข้าใจว่าเป็นการชำระล้างบาป ของตนที่ได้
กระทำให้หมดสิ้นไป

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

packkie
ขออนุญาติแชร์นะค่ะ  ขอบคุณค่ะ
 
packkie [1.20.208.xxx] เมื่อ 29/07/2015 10:17
1
อ้างอิง

packkie
ขออนุญาติแชร์นะค่ะ  ขอบคุณค่ะ
 
packkie [1.20.208.xxx] เมื่อ 29/07/2015 10:17
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :